Logo คณะ
ตรามหาลัยชื่อคณะ

ชื่อ

ภาษาไทย : คณะรังสีเทคนิค

ภาษาอังกฤษ : Faculty of Ragiological Technology

ความเป็นมา

มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดคณะรังสีเทคนิคเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558 โดยที่สภามหาวิทยาลัยรังสิตอนุมัติและให้จัดอยู่ในกลุ่มวิทยาศาสตร์-สุขภาพ ซึ่งประกอบด้วยคณะต่างๆดังนี้

  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
  • คณะทันตแพทยศาสตร์
  • คณะเภสัชศาสตร์
  • คณะพยาบาลศาสตร์
  • คณะเทคนิคการแพทย์
  • คณะกายภาพบำบัด
  • คณะทัศนมาตรศาสตร์
  • คณะรังสีเทคนิค
  • คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • คณะวิทยาศาสตร์

คณะรังสีเทคนิค เป็นสถาบันการศึกษาสาขารังสีเทคนิคแห่งแรกในประเทศไทยที่บริหารจัดการแบบคณะ มุ่งตอบสนองความต้องการของตลาด นับเป็นก้าวสำคัญของรังสีเทคนิคไทย โดยที่ ความแตกต่างของมหาวิทยาลัยรังสิตกับมหาวิทยาลัยของรัฐคือ ระบบการจัดการ

เปิดสอนรังสีเทคนิคเพื่อตอบสนองความต้องการ

         เนื่องจาก วิชาชีพรังสีเทคนิคเป็นวิชาชีพที่ขาดแคลน และมีค่าตอบแทนสูง ทั้งนี้ จากผลการสำรวจโดยคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากวุฒิสภา ในปี 2553 สำรวจพบว่า มีความต้องการนักรังสีเทคนิคทั้งประเทศประมาณหนึ่งพันกว่าคน ณ ขณะนั้น ซึ่งในปัจจุบันจากการสำรวจล่าสุดพบว่า ความต้องการนักรังสีเทคนิคเพิ่มขึ้นเป็นเกือบสามพันคน และจากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติและสำนักงานกพ.พบว่าค่าเฉลี่ยค่าตอบแทนภาคเอกชนสำหรับนักรังสีเทคนิคจบใหม่ในปี 2556 ประมาณ 33,000 บาทต่อเดือน

           มหาวิทยาลัยรังสิตจึงเล็งเห็นว่า มหาวิทยาลัยรังสิตน่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเติมเต็มความขาดแคลนนี้ จึงได้จัดตั้งคณะรังสีเทคนิคขึ้นให้มีภารกิจในการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค โดยมีเป้าหมายในการผลิตปีละ 50 คน โดยให้มีมารตรฐานเดียวกันกับมหาวิทยาลัยของรัฐบาล เพราะตระหนักดีว่า เรื่องของคุณภาพต่อรองไม่ได้

           ทั้งนี้ บัณฑิตที่จบไปจะสามารถทำงานเป็นนักรังสีเทคนิค หรือนักรังสีการแพทย์ ซึ่งเป็นวิชาชีพเฉพาะในทางการแพทย์ โดยช่วยแพทย์รักษาโรคให้แก่ผู้ป่วยโดยการใช้รังสี การสร้างภาพรังสีเพื่อตรวจดูอวัยวะภายในของผู้ป่วย เช่น การถ่ายภาพเอกซเรย์ การทำซีทีสแกน เอ็มอาร์ไอ อัลตราซาวด์ เป็นต้น โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ รังสีวินิจฉัย เวชศาสตร์นิวเคลียร์ และรังสีรักษา คณะรังสีเทคนิค มหาวิทยาลัยรังสิต จะมีการเรียนการสอนครบทั้ง 3 สาขา

           บัณฑิตที่จบไปก็จะไปทำงานทางด้านนี้ นอกจากนี้ ยังสามารถเป็นผู้ประกอบการคลินิกรังสีเทคนิค นักวิชาการที่ทำงานวิจัยหรือสอนในสถาบันวิจัยหรือสถาบันการศึกษาต่างๆ ผู้แทนฝ่ายขาย ผู้สนับสนุนการขาย ตามบริษัทจำหน่ายเครื่องมือทางรังสีวิทยา หรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น

มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรก ที่เปิดสอน “คณะรังสีเทคนิค”

RSU Society :มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค ออกอากาศเมื่อวันพุธที่ 01 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เวลา 16.00 น.  [สถานีโทรทัศน์ อาร์เอสยู วิสดอม ทีวี (RSU WisdomTV) ทีวีแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต, http://www.rsutv.tv แขกรับเชิญ : รศ.มานัส มงคลสุข คณบดีคณะรังสีเทคนิค มหาวิทยาลัยรังสิต]